หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปัจจัยต่อราคาทองคำ (Variable in Gold Price)

หากจะพูดถึงปัจจัยหรือตัวแปรในบ้างที่มีผลต่อราคาทองคำ เพียร์เจมส์ของอุทานดังๆ ก่อนว่า อุ้ยยย ตายยย ว๊ายยยย กรี๊ดดดด เพราะว่า ตัวแปรต่อราคาทองคำนั้นเยอะมาก ซึ่งขอสรุปตัวแปรหลักๆ ดังนี้


1. ค่าเงินดอลลาร์(US Dollar): การซื้อทองคำนั้นใช้สกุลเงินดอลลาร์เป็นตัวกลางในการซื้อขาย หรือ จะให้พูดอีกแบบคือประเทศไทยต้องนำเข้าทองคำเข้าประเทศ ถึงแม้เราจะมีสายแร่ทองคำในบางจังหวัดของประเทศไทยก็ตาม ทองคำส่วนมากยังนำเข้ามาจากต่างประเทศอยู่ดี เพราะการถลุงทองในเหมืองทองนั้นต้องประเมินถึงความคุ้มค่าและต้นทุนในทำ ในกรณีของสกุลเงินดอลลาร์นั้นมีผลต่อราคาทองคำอย่างไร หากสกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าหรือคนให้ความสำคัญต่อสกุลเงินดอลลาร์น้อยลง ราคาทองคำจะขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ราคาทองคำจะลง แต่หากคิดในกรณีนำเข้าทองคำในประเทศ เพราะเราซื้อขายทองคำในรูปของเงินดอลลาร์ อาจจะคิดสวนทางได้ดังนี้ หากค่าเงินบาทมีค่าแข็งขึ้น ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ทำให้ เราสามารถซื้อทองเข้าเข้าประเทศไทยได้ในราคาถูกลง ทำให้ราคาทองคำในประเทศมีค่าลดลงหากค่าเงินบาทไทยแข็งขึ้น

2. อัตราดอกเบี้ย(Interest rate): นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้มีการคงดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำเพื่อกระตุ้นให้คนขยายธุรกิจ มีการกู้ยืมมาทำธุรกิจมากขึ้น และ แม้กระทั่งที่ฝากเงินในธนาคารก็คิดว่าการนำเงินออกมาลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินในธนาคาร สินทรัพย์อื่นๆ ที่นิยมนำมาลงทุนในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำนั้น รวมถึง ทองคำ ด้วยเช่นเดียวกัน การลงทุนทองคำมีหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น ลงทุนในทองคำแท่ง ทองคำรูปพรรณ กองทุนทองคำ โปรแกรมออมทองคำ และ ตลาดซื้อขายทองคำล่วงหน้า


3. อัตราเงินเฟ้อ(Inflation Hedge): ขอเน้นตัวแดงสำหรับอัตราเงินเฟ้อต่อราคาทองคำ ในยามที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากอัตราเงินเฟ้อต่ำ หรือ เงินฝืด ราคาทองคำจะปรับตัวลดลง
ในมุมมองของเพียร์เจมส์นั้นให้ความสำคัญกับหัวข้อนี้อย่างมาก ไม่ใช่เพราะผลตอบแทนของการลงทุนในทองคำสามารถชนะอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เป็นเพราะว่าการถือครองทองคำนั้นสามารถชนะเงินเฟ้อได้หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ทองคำเป็น สินทรัพย์ที่ปลอดภัย หรือ Safe heaven อย่างแท้จริง เพราะเมื่อใดก็ตามที่อัตราเงินเฟ้อหรือค่าของเงินในประเทศใดๆลดลง การทำให้ทองคำมีมูลค่าลดลง หรือการเทขายทองคำนั้น สามารถช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้ อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่าทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่เปรียนเป็นเงินสำรองของแต่ละประเทศ 

4. สถาณการณ์ที่ไม่มั่นคง(Uncertainty Circumstances): เช่นภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ภาวะความวุ่นวายภายในประเทศ สงครามกลางเมือง หรือ ความขัดแย้งต่างๆ นักลงทุนส่วนใหญ่หรือคนทั่วไปไม่นิยมถือครองเงิน แต่จะนิยมถือหรือลงทุนในทองคำ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เปรียบเหมือนเป็นเงินสากลที่ทุกประเทศต้องใช้ และมีมูลค่าสากลเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก


5. ความต้องการทองคำในตลาดโลก(Supply and Demand): หากมีความต้องการทองคำจำนวนมากจะส่งผลให้ดีมานด์มีปริมาณสูงขึ้นและซัพพลายทองคำแน่นอนมีจำนวนจำกัดลงเรื่อยๆ เพราะทองคำเป็นแร่ตามธรรมชาติที่ต้องใช้ต้นทุนสูงมากในการทำเหมืองทองคำแต่ละที่ เมื่อใดก็ตามที่ดีมานด์สูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อราคาทองคำให้สูงตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

6. ราคาน้ำมัน หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมาก จะเป็นตัวแสดงค่าเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้ราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น เพราะ ทองคำและน้ำมันเปรียบเป็นสินค้าบริโภค (Commodity) เป็นตัวแปรตามซึ่งกันและกัน หากจะเปรียบไปแล้วน่าจะเทียบได้กับลมและฝุ่นละอองนั่นเอง

7. เทศกาล(Festival): เทศกาลปีใหม่ เทศกาลตุรษจีน เทศกาลในอินเดีย คือเทศกาล Diwaili (ช่วงสิ้นสุดเดือนถือศีลอด)  และเทศกาลสำคัญต่างๆ เช่นการแต่งงาน ในช่วงเทศกาลดังกล่าวของทุกปีจะมีความต้องการปริมาณทองคำในปริมาณสูงขึ้น มักจะส่งผลให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มักเป็นการปรับตัวของราคาทองเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น

ป.ล. ถึงแม้ว่ามีตัวแปรต่างๆ ที่พอจะสรุปได้ตามหลักข้างต้น แต่การประเมินราคาทองคำนั้นคงทำไม่ได้ง่ายนัก เพราะปัจจัยต่างๆมีความสำคัญไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น