หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การประเมินคุณภาพเพชร (Diamond Grading)

รอบรู้คุณภาพเพชรก่อนตัดสินใจซื้อ

ใครๆ ก็อยากเป็นเจ้าของเครื่องประดับเพชรซักเรือน สำหรับบางคนอาจจะมีความรู้หรือพอทราบข้อมูลบางส่วนในการเลือกซื้อเพชรมาบ้างแล้ว ในบทความนี้ข้อแชร์ความรู้ทั่วไปของการประเมินคุณภาพเพชร โดยจะให้เพชรกลม หรือ ที่เรียกทั่วไป ว่า Briiliant Cutting มาเป็นตัวกลางในการอธิบายในรายละเอียดต่างๆ 4 หัวข้อด้วยกัน ประกอบด้วย
        1. การประเมินสี(Color)
        2. การประเมินความสะอาด(Clarity)
        3. การประเมินสัดส่วนและการเจียระไน(Cutting)
        4. การประเมินขนาดของเพชร(Carat) 
ในการประเมินคุณภาพเพชรใหญ่ๆ ทั้ง 4 หัวข้อนี้ บางครั้งอาจจะเรียกอย่างย่อได้ว่า 4C เราว่าดูรายละเอียดแต่ละตัวกันดีกว่า ว่ามีรายละเอียดสำคัญอย่างไรบ้าง ต่อการประเมินคุณภาพเพชร หรือ การเลือกซื้อเพชรให้เหมาะสมกับราคานั้นควรพิจารณาอะไรบ้าง

 1. การประเมินสี(Color) ในหัวข้อนี้สามารถประเมินสีเพชรได้จากการเปรียบเทียบสีค่ามาตรฐาน โดยใช้สีใสหรือไม่มีสีอื่นใดเจือปนเป็นเกณฑ์ในการกำหนดคุณภาพสีของเพชร หากจะเปรียบเทียบที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น เราซื้อเสื้อสีขาวมาหนึ่งตัวตอนแรกสีขาวสวยมาก พอเวลาผ่านไปเรื่อยๆ สีขาวของเราเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทีละนิด ทีละนิด การประเมินสีของเพชรก็เช่นเดียวกัน คือ สีเพชรที่ถูกประเมินว่าด้อยกว่าจากการมีโทนสีเหลืองเจือปน ถ้าสีเหลืองเจือปนมากเกรดคุณภาพทางด้านสีก็ยิ่งลดลง บางคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมการประเมินสีเพชรต้องใช้โทนสีเหลือง ตามท่ียกตัวอย่างว่า เรามีเสื้อสีขาว ใส่ไปเรื่อยๆ ความเก่าของเสื้อจะออกมาเป็นสีเหลือง ไม่ใช่สีเขียวหรือสีฟ้า หากใส่ไปเรื่อยๆ แล้วเป็นสีอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีเหลือง คงสามารถตั้งสมมติฐานได้ว่าไปติดสีอื่นๆมาโดยบังเอิญ การเปรียบเทียบกับสีของเพชรก็เช่นเดียวกัน เพราะจริงๆแล้วเรามีเพชรแท้จากธรรมชาติทุกสี อยู่ที่ว่ามีแร่ธาตุอื่นๆปะปนมาหรือไม่ หากมีก็จะทำให้เพชรกลายเป็นสีต่างๆได้เช่นเดียวกัน เช่น บลูไดมอนด์(Blue Diamond), เพชรสีดำ(Black Diamond), หรือ เพชรที่มีราคาต่อกะรัตแพงที่สุดในโลก คือ เพชรสีชมพู (Pink Diamond) ในเรื่องสีเพชรต่างๆนั้นจะกล่าวในบทความหัวข้อเพชรสีหรือ แฟนซีไดมอนด์ต่อไปนะคะ เพชรที่นิยมใส่ทั่วไปนั้นจะเป็นสีใสที่ให้ประกายสีรุ้งชัดเจน

ประเมินเพชรจากความใสของสีได้เรียงลำดับตามรูปด้านล่าง ยิ่งติดสีเหลืองมากเท่าไรคุณภาพที่ถูกประเมินจะลดลงตามลำดับ ยกเว้นกรณีที่ เป็นสีเหลืองเข้ม(Vivid Yellow Color)จะจัดเป็นเพชรแฟนซีที่หายากและมีราคาสูงมาก จากรูปสีที่แสดง สามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้คือ
ตัว D ไม่มีสีเหลืองเจือปนอยู่แสดงว่าเพชรสีสวยและดีมาก
ตัว H สีเหลืองเจือปนอยู่เล็กน้อยแสดงว่าเพชรเกรดปานกลางถึงดี
ตัว N จะมีสีเหลืองเจือปนเยอะแสดงว่าเพชรเกรดด้อยถึงปานกลาง
ตัว Z จะมีสีเหลืองอยู่เข้มมากซึ่งลักษณะสีเหลืองเข้มเป็นเพชรแฟนซีและราคาสูง
ตัวอย่างเรียงลำดับสีในการประเมินสีเพชร

จากตัวอย่างนี้เห็นมั้ยคะว่า ไม่ใช่ว่าจะติดสีเหลืองแล้วถูกประเมินไม่ดีอย่างเดียว หากติดสีเหลืองเข้มมากจะถูกจัดเป็นเพชรหายากและมีราคาได้เช่นกัน เพชรแฟนซีสีเหลืองที่สวยงามและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของไทย "The Golden Jubilee", Cushion Cut Fancy Yellow Brown Diamond

2. การประเมินความสะอาด(Clarity)

การประเมินความสะอาดของเพชร คือการส่องพิจารณาดูรอยต่างๆบนเนื้อในของเพชรหรือโดยรอบนอก ความสะอาดขึ้นอยู่กับตำหนิหรือรอยต่างๆที่เกิดขึ้นต่้างธรรมชาิตฃิหรือถูกทำให้เกิดขึ้นภายหลังจากการเจียระไนแล้ว โดยหากไม่มีจฃตำหนิใดๆเลย เปรียบได้ว่าเพฃรเม็ดนั้นมีความสะอาดเป็นอย่างมาก หากเปรียบเพชรเป็นเสื้อสีขาวก็คงพูดได้ว่า ขาวเหมือนใหม่ไม่มีรอยเปื้อน รอยดำ หรือ รอยด่างในเนื้อผ้าของเสื้อตัวนั้นเลย ความสะอาดของเพชรก็เช่นเดียวกัน 

3. การประเมินสัดส่วนและการเจียระไน(Cutting)

การประเมินหลักการเจียระไนและการคำนวณสัดส่วนเพชรที่เหมาะสมจะทำให้ได้เพชรที่มีประกายระยิบระยับมากที่สุด โดยไม่ขึ้นกับขนาดเพชรอย่างเดียว จากรูปการเพชรมีสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมเช่น มีความตื้นมากไปจะทำให้แสงที่ตกกระทบเพชรนั้นผ่านไปทางก้นเพชรเกือบทั้งหมด ในทางเดียวกัน หากสัดส่วนไม่เหมาะสมโดยมีความลึกมากจนเกินไป จะทำให้แสงที่ตกกระทบเพชรตกกระทบไปทางด้านข้างของเพชรเกือบทั้งหมด โดยสองกรณีนี้ทำให้ไม่ได้เพชรที่มีประกายไฟระยิบระยับเท่าที่ควร กรณีที่เพชรมีสัดส่วนเหมาะสม สวยงามที่สุด จะทำให้แสงที่ตกกระทบเพชรสะท้อนภายในและตกกระทบและสะท้อนออกมายังด้านหน้าเพชรมากที่สุด ทำให้เกิดความสวยงามต่อผู้มองเห็นมากที่สุด




4. การประเมินขนาดของเพชร(Carat) 


ขนาดของเพชรนั้นมีหลายขนาด ซึ่งการวัดขนาดของเพชรนั้นมีหน่วยสากลในการใช้เรียกขนาดของเพชร ว่า "กะรัต (Carat)" หรือในภาษาที่เราคุ้นเคยกัน หากขนาดเพชรน้อยกว่า หนึ่งกะรัต จะใช้หน่วยที่เรียกว่า "ตัง" แทนการใช้หน่วยกะรัต เช่น

  • เพชร ที่มีขนาด 10 ตัง จะเท่ากับ  0.1 กะรัต 
  • เพชรที่มีขนาด 1 กะรัต จะเท่ากับ 100 ตัง แต่ในกรณีนี้เราไม่นิยมเรียกเป็นตังหากมีขนาดเกิน 100 ตัง 
  • เพชรที่มีขนาด 1.40 กะรัต จะเท่ากับ หนึ่งกะรัต กับ สี่สิบตัง 




คีย์เวิรด์: เพชร, สี, แฟนซีไดมอนด์, การประเมินเพชร, คุณภาพเพชร, การเลือกซื้อเพชร, ขนาด, ความสะอาด, เจียระไนเพชร, เหลี่ยมเพชร
Keyword: Color, Diamond, Fancy Diamond, Golden Jubilee, Size, Clarity, Cut



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น