หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

เสน่ห์อเมทิสต์ (Charming Amethyst Pendents)

งานชิ้นแรก:
The first fine art in jewellery; Amethyst Pendent in the concept of "Rhythm is in the air".
ใครๆก็อยากเป็นคนพิเศษและยิ่งถ้าได้เป็นคนแรกในใจแล้วคงเป็นปลื้มมมมมมเป็นอย่างมาก หากจะขอเริ่มต้นเล่าเรื่องราวแรกสุดของเพียร์เจมส์คงไม่พ้น เรื่องราวของเครื่องประดับชิ้นนี้เป็นแน่่แท้ ลักษณะจี้ประดับด้วยพลอยอเมทิสต์สีม่วง(Amethyst) เม็ดรูปไข่ มีขนาดประมาณเกือบเท่าถั่วสิสงเม็ดเล็ก ตัวเรือนทองคำแท้ รูปร่างและการออกแบบดัดแปลงมาจากรูปกุญแจซอลและตัวโน๊ตในจังหวะดนตรี คอนเซปต์ของชิ้นงานเปรียบดั่งวลีที่ว่า "Rhythm is in the air."


ความผูกพัน เชื่อใจ และไว้ใจกันระหว่างเพื่อนสู่เพื่อน จากเพื่อนหนึ่งคนทักทอร้อยสายทางความคิด ไอเดียและจินตนาการ ส่งผ่านมายังเพื่อนอีกหนึ่งคนเพื่อต่อยอดเป็นชิ้นงานเครื่องประดับที่นับเป็นก้าวแรกของการจุดประกายความคิดในการทำธุรกิจขนาดเล็กของเพียร์เจมส์ให้เกิดขึ้น ปิ๊ง ปิ๊ง ปิ๊ง

จำได้ว่า ได้รับโทรศัพท์จากเพื่อนสนิทขอคำปรึกษาในการทำเครื่องประดับให้รุ่นน้อง ตอนแรกตอบไปตามตรงเลยว่า จะสั่งทำทำไมล่ะ ทำไมไม่ไปหาซื้อตามร้านจิวเวลรี่ที่ทำโชว์ไว้เยอะๆ มีหลายๆแบบให้เลือกนะ แถมยังต่อรองราคาได้อีกด้วยในกรณีที่เราคิดว่าราคาแพงจนเกินไป หรือถ้าเป็นร้านจิวเวลรี่ตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ หรือร้านจิวเวลรี่แบรนด์ดังๆ จะเป็นการให้ส่วนลดแทน หรือมีการรับประกันแลกเปลี่ยนคืนสินค้าในราคาส่วนต่างที่น้อยกว่าที่ได้ซื้อไปตามนโยบายของร้าน หลายคนอาจจะงงว่าทำไมเพื่อนมาปรึกษาเราในการสั่งทำเครื่องประดับ งั้นขอสารภาพตามตรงว่าพอมีประสบการณ์และทักษะในเรื่องช่างทองและเครื่องประดับอยู่บ้าง จากการที่ได้รับฟังเรื่องราวเกล็ดและทักษะความรู้ต่างๆที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากที่บ้าน เพราะที่บ้านทำธุรกิจประเภทนี้อยู่นะคะ ซึ่งแต่ก่อนนั้นไม่ได้ให้ความใส่ใจเท่าที่ควรเพราะเราคิดว่าคนละสายงานกับวิชาชีพที่ได้ร่ำเรียนมา แต่ตอนนั้นเพื่อนสนิทเราคงคาดคิดไว้ว่า เราต้องมีความรู้เรื่องช่างทองและเพชร พลอยมากๆ แน่ๆ ซึ่ง ณ ตอนนั้น มีความรู้และประสบการณ์ไม่มากเหมือนอย่างตอนนี้ อย่างที่กล่าวในตอนแรกเลยนะคะว่า การทำสิ่งที่ชอบนั้นมีเรื่องให้เรียนรู้ไม่จบไม่สิ้นจริงๆประสบการณ์งานจิวเวลรี่แต่ละชิ้นนั้นเป็นครูอย่างดีให้เราเรียนรู้ในเกล็ดเล็กๆน้อยๆต่อไปเรื่อยๆ โห..เล่านอกเรื่องไปเยอะพอสมควร ที่นี้กลับมาเรื่องราวเริ่มต้นของเพียร์เจมส์ต่อดีกว่า พอได้กล่าวไปแบบนั้นทางโทรศัพท์เพื่อนสนิทคนเดิมขอให้มาดูพลอยก่อน เพื่อจะได้แชร์ไอเดียกัน เราก็ขับรถไปหาทันที เพื่อนสนิทแนะนำน้องคนหนึงให้รู้จัก เป็นสาวน้อยหน้าหวานตาโตและรอยยิ้มน่ารักมาก มาขอคำปรึกษาให้ช่วยแนะนำและออกแบบ โดยน้องเค้ามีพลอยอเมทิสที่เป็นเหมือนเครื่่องรางที่อยากจะพกติดตัวตลอดเวลา เลยตัดสินใจทำเป็นเครื่องประดับจะเหมาะสมที่สุด ต้องการตัวเรือนที่ใส่แล้วไม่เหมือนใครมีความเท่ห์ เก๋ และ คงต้องมีอ่อนหวานร่วมด้วย เพื่อให้เหมาะกับบุคคลิกของน้องหน้าหวาน โดยจากเริ่มจากการพูดคุยร่างแบบคร่าวๆ (Draft) และสอบถามถึงความต้องการในเบื้องต้น (ฺBasic Inquiry) รวมทั้งกำหนดขนาดของตัวเรือนทองคำ อย่างที่เกริ่นนำในประวัติของเพียร์เจมส์หน้าแรก หรือ หน้าบล็อคแรกว่างานทุกชิ้นจะทำด้วยความใส่ใจและประสบการณ์ที่ได้ระหว่างทำชิ้นงานนั้นเปรียบเป็นครูของเพียร์เจมส์ เพราะได้ทั้งความรู้และประสบการณ์ต่างๆ พร้อมทั้งยังได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ได้สั่งทำชิ้นงานไปแล้ว และแนะนำเพื่อนคนอื่นๆมาสั่งชิ้นงานที่เพียร์เจมส์เรื่อยๆตลอดมา ความรู้และประสบการณ์ที่ได้สามารถไปประยุกต์ใช้กับเครื่องประดับชิ้นอื่นๆเพื่อสร้างสรรเครื่องประดับที่ไม่เพียงแต่สวยงาม ทั้งยังให้คุณลูกค้า หรือ ผู้สวมใส่เครื่องประดับทุกชิ้นมีความสุขและสบาย คล่องตัวเมื่อสวมใส่

ขอแชร์จากประสบการณ์ในการทำเครื่องประดับพลอย หรือ อัญมณีสีต่างๆ ที่ควรคำนึงมีอะไรบ้่าง ดังนี้
  • พลอยแท้ (Genuine Gems stone) เมื่อลูกค้านำพลอยหรือหินสีต่างๆ นำมาให้ทางร้านช่วยออกแบบ เพียร์เจมส์ก็อดไม่ได้ในบางครั้งที่จะมีการสอบถามถึงที่มาของพลอยหรือหินสีต่างๆ นั้นว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร อะไรคือแรงบันดาลใจในการทำตัดสินใจสั่งทำเครื่องประดับของคุณลูกค้า อาจจะยังไม่ได้เกริ่นนำในเบื้องต้นว่าที่ร้านเพียร์เจมส์นั้นเรารับสั่งทำเครื่องประดับทุกชนิดทั้งที่เป็นตัวเรือนทองคำ (Gold) หรือ เงินแท้ (Silver)โดยเครื่องประดับจะเป็นงานแมนเมด(Handmade) หรือทำด้วยมือทุกชิ้น จึงสามารถปรับแต่งออกแบบได้ตามต้องการของคุณลูกค้า การซักประวัติความเป็นมาทำให้เพียร์เจมส์ทราบถึงที่มาของพลอย หรือ แรงบันดาลใจต่างๆ ทำให้สามารถสร้างสรรเครื่องประดับที่สวยงามตรงตามความชอบและบุคคลิืกภาพแล้ว ทั้งยังมีความผูกพันต่อจิตใจของผู้ที่ได้สวมใส่อีกด้วย ดังนั้นการนำพลอยมาทำเครื่องประดับอีกเรื่องที่เพียร์เจมส์ให้ความสำคัญคือ เป็นพลอยแท้หรืออัญมณีแท้จากธรรมชาติหรือไม่(Natural Gemstone?) อย่างที่บอกว่าเราจะให้คำปรึกษาแบบลูกทุ่งๆคือ ตรงไปตรงมา บางครั้งเพียร์เจมส์จะแนะนำว่าพลอยที่นำมาทำเครื่องประดับนั้นหากเราพิจารณาและตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่าไม่ใช่พลอยแท้ หรือ หินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก็จะเรียนให้ลูกค้าทราบก่อน เพื่อป้องกันผลประโยชน์แก่คุณลูกค้่าเอง เพราะเราคิดว่างานสั่งทำเครื่องประดับแต่ละชิ้นนั้นมีคุณค่าและราคา จึงควรบอกให้ทราบถึงข้อมูลนี้ในเบื้องต้น ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับหน้าที่หลักของเพียร์เจมส์แต่มันอดไม่ได้นี่... แต่เชื่อมั้ยคะ จากประสบการณ์ตรงถึงแม้ว่า จะบอกลูกค้าตามตรงแล้วว่าพลอยที่นำมาทำเครื่องประดับนั้นเป็นพลอยสังเคราะห์ หรือ ที่เค้าเรียกทั่วๆ ไปว่า พลอยกระจก ลูกค้าส่วนมากก็ยังไม่เปลี่ยนใจและยืนยันที่จะทำเครื่องประดับ เพราะเหตุผลว่าพลอยหรือหินสังเคราะห์นั้นมีคุณค่าทางจิตใจมาก ส่วนใหญ่ที่มาเป็นพลอยที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษ คนสนิทใกล้ชิดหรือ มีความเชื่อว่าเป็นพลอยที่เก็บมานานและผูกผันต่อการใช้ชีวิต หรือ พูดง่ายๆคือ มีพลอยนี้ติดตัวแล้วนำความมั่งคั่งมาให้ !!!
  • ขนาด (Size) การออกแบบต้องคำนึงถึงขนาดของพลอยและตัวเรือนว่า หลังจากทำเสร็จแล้วมีขนาดเป็นอย่างไรเหมาะสมกับผู้สวมใส่หรือไม่ เช่น ผู้สวมใส่เป็นคนตัวเล็ก ขนาดเครื่องประดับควรจะมีขนาดเล็ก กระทัดรัด น่ารักจะเหมาะสมกว่าหรือไม่ ในทางตรงกันข้ามหากผู้สวมใส่มีรูปร่างสูงโปร่ง ท่าทางทะมัดทะแมงก็อาจจะเหมาะสมกับเครื่องประดับที่มีขนาดใหญ่ ไม่เล็กน่ารักจนเกินไป หรือเหมาะสมกับเครื่องประดับที่มีลักษณะเด่นสะดุดตาเพื่อเสริมบุคคลิกภาพ แต่ทั้งนี้เครื่องประดับที่สั่งทำต้องขึ้นกับความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญเพื่อสร้างสรรผลงานที่ได้ตรงตามใจคุณลูกค้ามากที่สุด เทคนิคอีกอย่างคือหากเลือกแบบเครื่องประดับที่มีขนาดเล็กน่ารักๆ กะทัดรัด แต่พลอยที่นำมาทำเครื่องประดับนั้นมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะทำให้ได้เครื่องประดับที่ออกมาตามแบบแต่ขนาดใหญ่ตามไปด้วยในจุดนี้ควรชี้แจงโดยตรงต่อคุณลูกค้าทราบก่อนในเบื้องต้นเช่นกัน
  • สี (Color) ของอัญมณีนั้นสำคัญฉไหน อย่างที่มีคำกล่าวที่ว่า สีสะท้อนอารมณ์และความรู้สึก เช่นสีแดงให้ความรู้สึกถึงการครอบครอง พลัง อำนาจ, สีขาว ให้ความรู้สึกสะอาด สว่าง ผ่องใส บริสุทธ์, สีเขียวให้ความรู้สึก อ่อนโยน สบาย ผ่อนคลาย, สีม่วงให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ ลึกลับ น่าค้นหาและสีทอง ให้ความรู้สึก สูงค่า สง่า มีราคาน่าหลงใหล หากจะพูดเรื่องสีต่ออารมณ์และความรู้สึกในรายละเอียดนั้น รออีกซักหน่อยนะคะ เพียร์เจมส์วางแผนที่จะรวบรวมข้อมูลและเขียนเป็นบล็อคอย่างละเอียดทุกสีในงานเขียนภาคอนาคต ขอติดไว้ก่อนหนึ่งงาน ดังนั้นในแง่ของสีตามหัวข้อนี้ ขอกล่าวอย่างคร่าวๆ โดยแยกสีตามตัวเรือนของชิ้นงานเครื่องประดับ ในที่นี้แบ่งได้ 2สีหลักๆคือ สีเงิน ทั้งจากตัวเรือนเงิน(Silver) หรือ ตัวเรือนทองคำขาว(White gold) หรือ ตัวเรือนทองขาว(Platinum) และ สีทองจากตัวเรือนทองคำแท้(Gold) พลอยหรืออัญมณีที่นำมาทำเป็นเครื่องประดับนั้นต้องพิจารณาถึงความชอบและความสวยงามที่ออกมาเป็นสำคัญ ยกตัวอย่างชิ้นงานด้านบน ตามรูปนั้น ในตอนแรกมีการแชร์ความคิดกันว่า จะทำเป็นตัวเรือนทองคำขาว หรือ ทำเป็นตัวเรือนทองคำ ดีกว่ากัน ปัจจัยที่ควรพิจารณามีสองด้านคือ หากทำเป็นตัวเรือนทองคำขาว ข้อดี คือไม่สะดุดตามากอาจจะมีความปลอดภัยเมื่อสวมใส่มากกว่า เพราะในยุคที่ข้าวของแพงมากกว่าแต่ก่อน ก็ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น อีกทั้งค่านิยมของคนบางกลุ่มก็คิดว่าตัวเรือนทองคำขาวนั้นดูมีค่าและมีราคามากกว่า ข้อด้อย คือ ตัวเรือนทองคำขาวจะมีราคาต้นทุนการผลิตสูงกว่ามาก หลายๆคนมักให้ความเห็นว่าทองคำขาวแพงกว่ามากและขายไม่ได้ราคา ในความเป็นจริงแล้วทำตัวเรือนทองคำขาวนั้นขายได้ราคาเท่าๆกันกับตัวเรือนทองคำ แต่ตอนที่ซื้อต่างหากที่ราคาแพงกว่าตัวเรือนทองคำหากเทียบในน้ำหนักที่เท่ากัน หากเทียบกันตามตัวอย่างเครื่องประดับในรูปพลอยสีม่วงนั้น เมื่อทำเป็นเครื่องประดับทองคำจะให้ความรู้สึกโดดเด่นมากกว่า และสามารถเข้ากันได้ของสีมากกว่าสีเงิน หรือ สีทองคำขาว ทำให้ชิ้นงานให้ความอ่อนหวานและเท่ห์ตามอย่างที่คุณลูกค้าต้องการมากกว่า เมื่อทางเพียร์เจมส์ได้ชี้แจงให้ทางลูกค้าฟังเพื่อประกอบกับการตัดสินใจ คุณลูกค้าก็ได้เลือกที่จะทำให้เครื่องประดับในตัวเรือนทอง
  • ความแข็ง (Hardness) พลอยแต่ละชนิดมีความแข็งที่ไม่เท่ากัน โดยทั่วไปสเกลวัดความแข็งของพลอยนั้น อย่างง่ายๆ สเกลที่ใช้วัดเรียกว่า "Moh Scale" เรียงความแข็งจากน้อยที่สุดคือ สเกลที่ 1 และ ความแข็งมากที่สุดคือ สเกลที่ 10 คาดว่าทุกคน คงเดาได้ไม่ยากกว่า หินจากธรรมชาติชนิดใดที่มีความแข็งมากที่สุด ติ๊ก ต่อก ติ๊ก ต่อก คำตอบก็อย่างที่ทุกๆคนรู้กันนะคะ ว่าคืเพชร(Diamond) เพชรเป็นผลึกคาร์บอนในโมเลกุลที่เรียงตัวแล้วมีความแข็งแกร่งและทนต่อการกดกระแทกได้มากที่สุด โดยไพลิน(Blue sapphire) และ ทับทิม(Ruby) จะมีความแข็งที่รองลงมาตามลำดับ หากเราออกแบบชิ้นงานของเครื่องประดับเพชรคงไม่ต้องกังวลเรื่องการบิ่นหรือการแตกจากการโดนกระแทกในยามสวมใส่มากนัก แต่สำหรับพลอยบางชนิด ที่ภาษาทั่วๆไปเรียกว่าพลอยเนื้ออ่อน เช่น หยก(Jade) ทัวร์มาลีน(Tourmaline) ซิทริน(Citrin) อเมทิสต์(Amethyst) เป็นต้นพลอยชนิดนี้ต้องการความระมัดระวังต่อการกระแทกมากกว่า ทำให้การออกแบบสามารถป้องกันในจุดต่างๆ ที่เสี่ียงต่อการบิ่นหรือแตกหักได้ จุดที่ต้องออกแบบป้องกันมากเป็นพิเศษ คือ มุมต่างๆ ของพลอย และ หน้าพลอย หากพลอยบิ่นหรือแตกหักระหว่างที่สวมใส่ นอกจากผู้สวมใส่จะไม่สบายใจแล้วยังลดความสวยงามและราคาคุณค่าของพลอยลงได้อีกด้วย เกล็ดเล็กๆน้อยนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้สวมใส่เช่นเดียวกัน เพราะหากสวมใส่พลอยที่มีความแข็งน้อยมากถึงปานกลางก็ควรจะระมัดระวังการถูกกระแทกบริเวณพลอยมากเป็นพิเศษกว่าการสวมใส่พลอยที่มีความแข็งมากกว่า ดังนั้นเพียร์เจมส์ได้นำภาพตัวอย่างความแข็งของอัญมณีแต่ละชนิดมา ตามรูปด้านล่างนะคะ 

คีย์เวิร์ด: พลอยสีม่วง, อเมทิสต์, เครื่องประดับ, จี้, สร้อยคอ, ขนาด, ความแข็ง, สี, เครืื่องมือวัดความแข็ง
Keyword: Amethyst, Gems, Jewelry, Pendent, Size, Design, Color, Hardness, Moh Scale


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น