Lapis Lazuli ลาพิส ลาซูลี
ในสมัยโบราณ ก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์ ชาวไอยคุปต์ได้รู้จักหรือนิยมตกแต่งประดับประดาเครื่องประดับในการแต่งตัว จากหลักฐานต่างๆทางประวัติศาสตร์ เครื่องประดับหินธรรมชาติที่สวยแปลกตาและเป็นที่นิยมใช้ตกแต่งก็คือ ลาพิส ลาซูลี (Lapis Lazuli) หินสีน้ำเงินสีฟ้าครามที่มีลวดลายสีสันแทรกในเนื้อหินแปลกตาดูสวยงาม อีกประการหนึ่งที่หินลาพิส ลาซูลี เป็นที่นิยมอย่างมากในอียิปต์โบราณน่าจะเพราะมีสีน้ำเงินสดเข้มและมักจะมีแร่ไพไรต์ (แร่สีทอง) หรือแร่แคลไซต์(แร่สีขาว) แทรกเป็นลวดลายฝังเป็นประกายสีทองในเนื้อหินอีกด้วย ทำให้หินธรรมชาติชนิดนี้มีคุณค่า ดูสง่างามระยิบระยับ หากใช้เป็นเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งชาวอียิปต์ก็นิยมใช้เครื่องประดับจากหลักฐานที่พบในสุสานพระนางเฮเจเฟรีสที่ 1 มเหสีของพระเจ้าเซเนฟรู แห่งราชวงศ์ที่4 ของอียิปต์ ได้พบเครื่องประดับที่ทำด้วย ลาพิส ลาซูลี, คาร์เนเลียน, และ เทอร์คอยส์ (อ้างอิงจาก หนังสือ ถนนสายเพชรพลอย มณิขจิต)
Lapis Lazuli , National Museum, Smithsonian, Washington D.C., USA |
โดยส่วนตัวชอบหินธรรมชาติจากลาพิส ลาซูลี เพราะว่า แร่ธาตุที่ทำให้เกินความเป็นเอกลักษณ์เป็นสีทองและให้ลวดลายที่แตกต่างกันในแต่ละเม็ดหินหรือเครื่องประดับ ทำให้มีเสน่ห์ ดูลึกลับ น่าเป็นเจ้าของ หากกล่าวถึง แร่ธาตุทางเคมีในธรรมชาติ ส่วนประกอบของหินที่เป็นสีนำ้เงินฟ้าครามเข้ม สวยๆ นั้น เป็นแร่ธาตุหลักมาจาก Lazurite ซึ่งมีสีสันที่เฉพาะตัวอย่างมาก ตามในภาพถ่ายนะคะ โดยในภาพถ่ายคือ Lapis Lazuli ที่จัดแสดงไว้ที่ National museum of Natural History, Washington D.C., USA (Credit photo)
ลาพิส ลาซูลี ที่ดีควรมีสีน้ำเงินเข้มสดสวย และ มีแร่สีทองเป็นลวดลายจะทำให้สีสันเด่นสวยแปลกตา โดยมีแร่สีขาวแทรกให้น้อยที่สุด เพราะแร่สีขาวจะทำให้ความเข้มของสีน้ำเงินและสีทองลดลงทำให้สีสันเข้มๆนั้นจางลง เพราะฉะนั้น ลาพิส ลาซูลี เม็ดสวยๆ จะต้องมีสีน้ำเงินเข้มและแร่สีทองให้มากที่สุดเท่านั้นถึงจะมีราคาแพงกว่า แต่สมัยนี้การขุดแร่ลาพิส ลาซูลี ได้น้อยลงรวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถทำอัญมณีเลียนแบบลาพิส ลาซูลี เป็นลูกปัด หรือ หินเคลือบสีและลวดลายต่างๆ ก็ให้ความสวยงานเทียบใกล้เคียงกับ ลาพิส ลาซูลี ในราคาที่ย่อมเยาและหาได้ง่ายกว่านะคะ
แหล่งกำเนิดลาพิส ลาซูลี( Lapis Lazuli's Source)
ลาพิส ลาซูลี ที่มีคุณภาพดี มักพบที่ อัฟกานิสถาน รองลงมาคือที่ อาร์เจนตินา ส่วนที่พบในรัสเซียและชิลีจะมีน้ำเงินอ่อน ส่วนที่พบในสหรัฐอเมริกาจะมีสีน้ำเงินเข้มกว่าที่พบในแคนาดา
การดูแลรักษาเครื่องประดับ ลาพิส ลาซูลี Lapis Lazuli's Cleaning method)
1 หลีกเลี่ยงการสัมผัสกรด ด่าง เข้มข้น
2 ไม่ควรเครื่องประดับที่มีลาพิส ลาซูลีไปขัดล้างบ่อยและรุนแรงจนเกินไป
3 หลีกเลี่ยงการวางเครื่องประดับที่มีแสงแดดจัด อาจจะทำให้สีซีดลงได้
4 ควรทำความสะอาดด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นๆ หรือ ผสมสบู่อ่อนๆแล้วเช็ดล้างได้
______________________________________
"ขอบคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่านบทความนะคะ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนบทความต่อไป โดยการช่วยคลิก Like หรือ กด google+ นะคะ เพียร์เจมส์จะนำเรื่องราวอัพเดตเกี่ยวกับของสวยๆงามๆ เรื่องราวดีๆของเครื่องประดับ อัญมณี เพชร และ ทองคำ มาฝากให้ได้อ่านกันเรื่อยๆนะคะ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น